วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อัตราและค่าธรรมเนียม



อัตราและค่าธรรมเนียม (Rates & Fees)==>สามารถกดตามลิงค์ได้เลยนะค่ะ

  ประกาศอัตราดอกเบี้ย ครั้งที่ 13/2555 (13/06/2555)


  
 ประกาศอัตราดอกเบี้ย ครั้งที่ 12/2555 (08/06/2555)

 ประกาศอัตราดอกเบี้ย ครั้งที่ 11/2555 (24/05/2555)




 ประกาศ เรื่อง ยกเว้นอัตราค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชี (ปธธ.026/2555)
















ประวัติธนาคาร(History)



ประวัติธนาคาร


ธนาคารธนชาต จำกัด(มหาชน) (ธนาคารธนชาต) เดิมเป็นสถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจในชื่อ บริษัทเงินทุน เอกชาติ จำกัด(มหาชน) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ เลขที่ 900 อาคารต้นสนทาวเวอร์ ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ธนาคารธนชาต จำกัด(มหาชน) ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 ภายใต้ใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์แบบจำกัดขอบเขตธุรกิจ หลังจากนั้นได้รับใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ จากกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547 และได้เปิดให้บริการด้านการเงินทุกรูปแบบ โดยมีธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์เป็นธุรกิจหลัก





ความเป็นมาของธนาคารธนชาต


ธันวาคม 2541

กระทรวงการคลังได้ประกาศนโยบายในการสนับสนุนการรวมกิจการระหว่างสถาบันการเงินต่างๆ โดยการออกใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์แบบจำกัดขอบเขตธุรกิจให้แทนใบอนุญาตประกอบการ Super Finance ที่ประกาศใช้ก่อนหน้านี้ และหนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นสถาบันการเงินที่เกิดจากการควบรวมกันอย่างน้อย 5 แห่ง และมีเงินกองทุนหลังจากหักสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้วไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท


กุมภาพันธ์ 2542

บริษัท ทุนธนชาต จำกัด(มหาชน) (ทุนธนชาต) หรือชื่อเดิม บริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด(มหาชน) ได้ยื่นขออนุมัติใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์แบบจำกัดขอบเขตธุรกิจ จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมีบริษัทเงินทุน เอกชาติ จำกัด(มหาชน) (บริษัทเงินทุนเอกชาติ) เป็นบริษัทแกนในการจัดตั้งธนาคารใหม่ร่วมกับสถาบันการเงินอีก 4 แห่ง ประกอบด้วย
  1. บริษัทเงินทุน เอ็นเอฟ จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ “บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอชเอสบีซี จำกัด”)
  2. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์กรุงเทพเคหะ จำกัด
  3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์สินเคหะการ จำกัด
  4. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์วานิช จำกัด
มิถุนายน 2544

ธปท.อนุมัติในหลักการ การจัดตั้งธนาคารที่จำกัดขอบเขตธุรกิจตามแผนงานที่ทุนธนชาตเสนอ และเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานดังกล่าว ทุนธนชาตและสถาบันการเงินอีก 4 แห่งที่กล่าวข้างต้น ได้ทำการโอนลูกหนี้ปกติทั้งหมด จำนวน 16,857 ล้านบาท ไปยังบริษัทเงินทุนเอกชาติ และในขณะเดียวกัน สินทรัพย์ด้อยคุณภาพจำนวน 4,464 ล้านบาทของบริษัทเงินทุนเอกชาติ ก็ได้ถูกโอนไปอยู่ภายใต้การบริหารของ บริษัทบริหารสินทรัพย์เอ็น เอฟ เอส จำกัด


3 มกราคม 2545

กระทรวงการคลังได้อนุมัติใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์แบบจำกัดขอบเขตธุรกิจแก่บริษัทเงินทุนเอกชาติ โดยทั้งนี้ บริษัทเงินทุนเอกชาติ ได้ทำการคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนให้แก่ทางการ แต่ยังคงสถานะเป็นบริษัทมหาชน และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ธนาคารธนชาต จำกัด(มหาชน)” โดยเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2545 เป็นต้นมา


1 มีนาคม 2547

ธนาคารธนชาต ได้รับใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ และในปีเดียวกันนี้ ธปท. พร้อมกับกระทรวงการคลังได้ประกาศ แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อเสริมสร้างความมีประสิทธิภาพในระบบสถาบันการเงิน โดยการปรับโครงสร้างและบทบาทของสถาบันการเงิน ซึ่งทุนธนชาต และธนาคารธนชาต ได้ปฏิบัติตามแผนการปรับโครงสร้างตามแนวนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ


22 เมษายน 2548

กระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบแผนการปรับโครงสร้างการประกอบธุรกิจสถาบันการเงินของกลุ่มธนชาตให้เป็นสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งตามแผนดังกล่าว ธนาคารธนชาต ได้เริ่มดำเนินธุรกรรมเช่าซื้อแทนที่ทุนธนชาต ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2548 และทุนธนชาต ได้โอนเงินรับฝากประเภทตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้แก่บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล จำนวนรวมทั้งสิ้น 79,803 ล้านบาท ไปที่ธนาคารธนชาต ในวันที่ 1 กรกฎาคม และ 1 พฤศจิกายน 2548 ตามลำดับ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2548 ทุนธนชาตได้โอนเงินให้สินเชื่อในราคาตามมูลหนี้รวมดอกเบี้ยค้างรับจำนวน 535 ล้านบาท ให้กับธนาคารธนชาต และในวันที่ 9 ธันวาคม 2548 ธนาคาร ธนชาตได้จดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วจาก 8,102 ล้านบาท เป็น 14,584 ล้านบาท 

ปี 2549


กลุ่มธนชาตได้ดำเนินการสืบเนื่องตามแผนปรับโครงสร้างการประกอบธุรกิจตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ธปท. ในปี 2548 โดยบริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด (มหาชน) ได้คืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน และเปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัททุนธนชาต จำกัด (มหาชน)” เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2549 และเพื่อสอดคล้องกับแนวทางการกำกับดูแลของ ธปท. ที่ได้ประกาศใช้หลักเกณฑ์การกำกับแบบรวมกลุ่มในปี 2549 ตลอดจนยกระดับการกำกับดูแลฯ ให้มีมาตรฐานที่ดีตามแนวปฏิบัติสากล โดยมีทุนธนชาตเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธนชาต จึงได้จัดตั้งและดำเนินการยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามหลักเกณฑ์การกำกับแบบรวมกลุ่ม ซึ่งได้รับอนุญาตแล้วเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดย ธปท. ให้ทุนธนชาตซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทจำกัดที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน จำนวน 13 บริษัท (ไม่รวมทุนธนชาต) และบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินอนุญาตให้ทุนธนชาต ถือต่ออีก 1 บริษัท


ปี 2550

ธนาคารธนชาต ได้เข้าซื้อหุ้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินธนชาต รวมทั้งมีการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับธนาคารแห่งโนวาสโกเทีย หรือ Scotiabank สรุปได้ดังนี้ี้


การเข้าซื้อหุ้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนชาต
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของธนาคารธนชาต เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550 มีมติอนุมัติให้ธนาคารธนชาตซื้อหุ้นในบริษัทย่อยจากทุนธนชาต รวม 8 บริษัท ในจำนวนที่ทุนธนชาตถืออยู่ทั้งหมด โดยธนาคารธนชาตได้รับอนุญาตจาก ธปท. เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2550 และธนาคารธนชาตเข้าซื้อหุ้นบริษัทดังกล่าว เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2550 มูลค่ารวม 4,158.24 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 100.00
  2. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 75.00
  3. บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 100.00
  4. บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 88.00
  5. บริษัท ธนชาตกรุ๊ปลีสซิ่ง จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 100.00
  6. บริษัท ธนชาตแมเนจเม้นท์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 100.00
  7. บริษัท ธนชาตกฎหมายและประเมินราคา ถือหุ้นร้อยละ 100.00
  8. บริษัท ธนชาตโบรกเกอร์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99 
การเข้าซื้อหุ้นของธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) โดยธนาคารแห่งโนวาสโกเทีย หรือ Scotiabank
  • ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของธนาคารธนชาต เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550 มีมติอนุมัติเพิ่มทุนจำนวน 676,263,200 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท จำแนกเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนเสนอขายให้ Scotiabank จำนวน 276,263,200 หุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายผู้ถือหุ้นเดิม จำนวน 400,000,000 หุ้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีมติเกี่ยวกับการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน 400,000,000 หุ้น
  • ธนาคารธนชาต ได้รับอนุญาตจาก ธปท.ผ่อนผันให้ธนาคารธนชาตมี Scotiabank เป็นผู้ถือหุ้นในอัตราไม่เกินร้อยละ 24.99 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และให้มีผู้ถือหุ้นที่มิใช่สัญชาติไทยไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ และให้มีกรรมการที่มิใช่สัญชาติไทยเกินกว่า 1 ใน 4 แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และไม่เกินสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นที่มิใช่สัญชาติไทย
  • วันที่ 19 กรกฎาคม 2550 ธนาคารธนชาต เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ Scotiabank จำนวน 276,263,200 หุ้น และ Scotiabank ได้ซื้อหุ้นจากทุนธนชาต เพิ่มอีกจำนวน 157,130,216 หุ้น เป็นผลให้ Scotiabank มีหุ้นรวมทั้งสิ้น 433,393,416 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 24.98 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของธนาคารธนชาต
  • ธนาคารธนชาต มีหุ้นจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 2,134,619,292 หุ้น โดยเป็นหุ้นจดทะเบียนที่ชำระแล้วเท่ากับ 1,734,619,292 หุ้น คิดเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วรวม 17,346,192,920 ล้านบาท 
ปี 2552

3 กุมภาพันธ์ 2552 ทุนธนชาตได้จำหน่ายหุ้นสามัญของธนาคารธนชาตเพิ่มเติมให้แก่ Scotiabank จำนวน 416,526,737 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 24.01 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของธนาคารธนชาต ทำให้ Scotiabank ถือหุ้นธนาคารธนชาต ในสัดส่วนร้อยละ 48.99ในขณะที่ทุนธนชาต ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50.9229 พฤษภาคม 2552 ธนาคารธนชาต เพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ จำนวน 200 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 10 บาท ทำให้ธนาคาร มีทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจาก 17,346,192,920 บาท เป็น 19,346,192,920 บาท และมีทุนชำระแล้วเท่ากับ 19,346,192,720 บาท
6 ตุลาคม 2552 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 3/2552 ของธนาคารธนชาตมีมติให้ลดทุนจดทะเบียนจาก19,346,192,920 บาท เป็น 19,346,192,720 บาท เป็นการลดทุนจดทะเบียนจากหุ้นเพิ่มทุนที่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่ได้จองซื้อจำนวน 20 หุ้น และที่ประชุมได้มีมติเพิ่มทุนจดทะเบียนธนาคารธนชาต เป็นจำนวน 40,000 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญจำนวนไม่เกิน 4,000 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ทำให้ทุนจดทะเบียนของธนาคาร
ธนชาต เพิ่มขึ้นจาก 19,346,192,720 บาท เป็น 59,346,192,720 บาท
ปี 2553

ปี 2553 ถือเป็นปีที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเติบโตของกลุ่มธนชาต เนื่องจากเป็นปีที่ธนาคารธนชาต ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของทุนธนชาต ประสบความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารนครหลวงไทย) จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และจากการเข้าทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดของธนาคารนครหลวงไทยจากผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อยอื่น (Tender offer) ทำให้ธนาคารธนชาตเป็นผู้ถือหุ้นของธนาคารนครหลวงไทยรวมทั้งสิ้นเป็นร้อยละ 99.95 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายและชำระแล้วทั้งหมดของธนาคารนครหลวงไทย ทำให้ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์ขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีการเติบโตสูงถึงร้อยละ 101.55 จากจำนวน 432,970 ล้านบาท เป็นจำนวน 872,654 ล้านบาท รวมทั้งเงินให้สินเชื่อมีการเติบโตถึงร้อยละ 112.55 มีการกระจายตัวของสินเชื่อที่เหมาะสมมากขึ้น จากเดิมที่สินเชื่อส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเช่าซื้อ รวมทั้งฐานเงินฝากมีการขยายตัวกว่าร้อยละ 100 ทำให้ฐานเงินฝากเพิ่มขึ้นจากจำนวน 266,296 ล้านบาทเป็นจำนวน 532,656 ล้านบาท


ปี 2554

ตามที่ ธนาคารธนชาตได้ซื้อหุ้นร้อยละ 99.95 ของธนาคารนครหลวงไทย และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการรวมกิจการตามนโยบายของธปท. ซึ่งจะทำให้ธนาคารธนชาตยกระดับเป็นธนาคารที่มีสาขาเป็นอันดับ 5 ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ด้วยจำนวนสาขาทั้งสิ้น 680 สาขา เครื่องเอทีเอ็มมากกว่า 2,100 เครื่อง และสำนักงานแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศจำนวน 80 สำนักงาน และมีบริการการเงินที่หลากหลายและครบครันทุกด้าน โดยธนาคารธนชาตขอให้ความมั่นใจแก่ท่านว่า ท่านจะได้รับบริการอย่างต่อเนื่องด้วยคุณภาพที่ดียิ่ง